เมนู

9. อรรถกถาพหุเวทนิสูตร


พหุเวทนิยสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
แล้วอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ปัญจกังคะ ในคำว่า ปญฺจกงฺโค
ถปติ
เป็นชื่อของนายช่างไม้นั้น. เขารู้กันทั่วไปว่า ปัญจกังคะ ก็เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องมือ 5 อย่าง กล่าวคือ มีด ขวาน สิ่ว ค้อน และ
สายบรรทัด. คำว่า นายช่างไม้ คือเป็นหัวหน้าช่างไม้. คำว่า อุทายี คือ
ท่านพระอุทายีเถระผู้เป็นบัณฑิต. คำว่า ปริยายํ แปลว่า เหตุ. คำว่า เทฺวปา-
นนฺท
แยกสนธิว่า เทฺวปิ อานนฺท. คำว่า ปริยาเยน คือ ด้วยเหตุ.
ก็บรรดาเวทนาเหล่านั้น พึงทราบว่า เวทนามี 2 คือ เวทนาที่เป็น
ไปทางกาย และเป็นไปทางใจ. มี 3 มีสุขเวทนาเป็นต้น. ว่าโดยอินทรีย์มี 5
มีสุขินทรีย์เป็นต้น. ว่าโดยทวารมี 6 มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น, ว่าโดย
อุปวิจารมี 18 เป็นต้นว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้วก็ควรพิจารณารูป ที่เป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส ดังนี้. มี 36 อย่างนี้คือ โสมนัสที่อาศัยเรือน 6 โสมนัสที่อาศัย
เนกขัมมะ 6 โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ 6 โทมนัสที่อาศัยเรือน 6 อุเบกขาที่
อาศัยเรือน 6 อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ 6. พึงทราบว่าเวทนาเหล่านั้น คือ
อดีต 36 อนาคต 36 ปัจจุบัน 36 รวมเป็น 108.
พระวาจาว่า ปญฺจ โข อิเม อานนฺท กามคุณา นี้เป็นอนุสนธิ
แยกคนละส่วน แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ทรงบัญญัติเวทนาตั้งต้นเพียง
2 เท่านั้น ยังตรัสเวทนาแม้เพียง 1 ไว้โดยปริยายก็มี เมื่อจะทรงแสดงเวทนานั้น